วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งาน1

Google Drive 


  • เป็น Online Service ประเภท Cloud Technology ที่มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้จัดเก็บข้อมูลลงไปในนั้น (หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคยกับ Cloud Technology สามารถอ่านได้ที่ blog นี้ -- http://www.s50.me/2012/04/it-trend-cloud-technology.html)
  • สามารถใช้ได้ฟรี (แต่ต้องมี Gmail Account ก่อน) โดยการใช้ฟรีนั้น จะมีเนื้อที่ให้ใช้ 5GB (Gigabytes) ซึ่งก็ถือว่ามีขนาดใหญ่พอใช้ได้  แต่ถ้าหากต้องการเนื้อที่เพิ่มเติมมากกว่านั้น ก็สามารถทำได้ครับโดยการเสียค่าบริการ เป็นรายเดือน หรือ รายปีไป  สนนราคาตอนนี้อยู่ที่
    • 25GB ที่ 2.49USD ต่อเดือน  (หรือประมาณ 79 บาทต่อเดือน)
    • 100GB ที่ 4.99USD ต่อเดือน (หรือประมาณ 158 บาทต่อเดือน)
    • 1000GB ที่ 49.99USD ต่อเดือน 
    • ซึ่งเมื่อเลือก Upgrade แบบจ่ายเงินแล้ว Gmail Inbox ของผู้ใช้จะเพิ่มเนื้อที่เป็น 25GB ด้วยเช่นจาก จากเดิมที่อยู่ประมาณ 7-8GB
  • การนำข้อมูลลงไปจัดเก็บใน Google Drive นั้นทำได้หลายวิธีมาก
    • เข้าผ่าน Web Browser แล้วเข้าไปที่ Gmail.com แล้วกดไปที่ Documents หรือว่า Drive Menu
    • เข้าผ่าน Windows Explorer โดยไปที่ Folder ของ Google Drive ซึ่งก่อนจะเข้าด้วยวิธีนี้ได้จำเป็นที่จะต้อง Download โปรแกรม Google Drive ที่ติดตั้งไว้บนเครื่องก่อนครับ รองรับได้ทั้ง Windows และ Mac OSX
    • เข้าผ่าน Mobile Device ประเภท iPhone, iPad หรือ Android (ไม่รองรับบน Blackberry)

  • ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถแชร์ (Share) ให้ผู้ใช้คนอื่น เช่น ทีมงาน เพื่อน ครอบครัว มาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ และ ทำงานไปพร้อมๆ กันเวลาเดียวกันได้ (แก้ไขเอกสารไปพร้อมๆกันเวลาเดียวกัน) โดยใช้ความสามารถของ Google Docs นั่นเอง ซึ่ง Google Docs นั้นก็เป็นอีกบริการหนึ่งของ Google ซึ่ง Google Docs รองรับการทำงานในรูปแบบ Document (Word Document), Spreadsheet (Excel) หรือ Presentation (PowerPoint)
  • ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้เต็มรูปแบบ (Full Text Search) หมาย ความว่า เราสามารถค้นหา สิ่งที่อยู่ในเนื้อภายในไฟล์นั้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งความสามารถทางด้านการ Search นั้น ต้องยกให้ Google เขาอยู่แล้ว ว่าทำได้ดี และ ทำได้เร็วมาก ไฟล์ใหม่ๆ 
  •   Google Drive สำหรับองค์กรนั้น IT Administrator ขององค์กรนั้นๆ สามารถควบคุมเรื่องการ จัดซื้อ Storage เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ในองค์กรได้ครับ โดยอัตราราคาก็จะเป็นไปตามภาพข้างล่างนี้
  •  IT Administrator สามารถเลือกซื้อเป็น Storage License แต่ละขนาดได้ และนำ License เหล่านี้ ไป Assign ให้กับ Users แต่ละคน หรือ Team Organization ในแต่ละทีมได้ 
  • โดยการ Billing นั้นก็จะมาเก็บเงินที่องค์กรธุรกิจ จะไม่ได้เก็บเงินที่ผู้ใช้แต่ละคน (จะแตกต่างกับ Google Drive for Gmail User)


Cloud Computing

 Cloud Technology หรือ Cloud Computing คือ เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้ให้เป็นไปในมุมมองในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคที่มีผู้ให้บริการ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ซึ่งจุดนี้หมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้ Cloud Technology ในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้บริการ โดยเสียค่าบริการเป็น Pay per use จ่ายเท่าที่ใช้หรือจะใช้ประจำทุกเดือน คล้ายๆ เสียค่าสมาชิกรายเดือนของเคเบิล TV ก็ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน โดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ (SaaS, IaaS, PaaS) อธิบายแบบง่ายๆ คือ


 รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้ Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management, 

 รูปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก ยืดหยุ่น และ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ 1 ที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่า Virtual Server หรือ Virtual PC/Desktop ที่ได้มานั้น ตั้งอยู่ที่ไหนมาได้อย่างไร สามารถเรียกใช้หรือคืนได้ทันทีเมื่อใช้เสร็จ

 รูปแบบที่ 3 (Platform as a Service, PaaS): เป็นรูปแบบที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของเพื่อให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อาศัยคุณสมบัติข้อดีของCloud ได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบนี้ อาจจะอธิบายได้ยากและซับซ้อนมากขึ้นกว่า 2 รูปแบบแรก ซึ่งผู้ใช้ Cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบน Cloud 


 ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดสามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. (Cloud) "Pay as you grow"  VS  (Non-Cloud) "Pay Upfront investment": ถ้าเป็น Cloud Technology รูปแบบการลงทุนจ่ายค่าใช้บริการจะเป็นไปในลักษณะ "ใช้น้อย จ่ายน้อย, ใช้มาก จ่ายมาก" ซึ่งจะแตกต่างจาก Non-Cloud หรือการใช้งาน IT ในอดีตคือ ต้องลงทุน Hardware/Software ไปก่อนตอนเริ่มต้นเป็นเงินก้อนใหญ่ ไม่ว่าตอนเริ่มต้นจะใช้มากหรือใช้น้อยก็ตาม หลังจากนั้นต้องคอยเฝ้าดูระบบเป็นระยะ ว่าจำเป็นต้องทำ Upgrade ชุดใหม่แล้วหรือยัง ซึ่งเป็น Upfront investment อีกก้อนในอนาคต ไม่รู้จบ และ ยังต้องมีค่า Maintenance Service ทั้ง Hardware/Software มาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งเป็นต้นทุนแฝง
 

2. (Cloud) ไม่มีต้นทุนในเชิง Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่าย VS (Non-Cloud) มีต้นทุน Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่ายทุกปี หรือ ทุก 3-5 ปี : ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ถ้าเลือกใช้ Cloud Technology องค์กรธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ชัดเจน คิดตามการใช้งาน เช่น คิดตามจำนวนผู้ใช้ หรือ ตามเวลาที่ใช้ เป็นต้น จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดแอบแฝงอีก แต่ถ้าหากเป็นแบบระบบเดิม (Non-Cloud) หน่วยงาน IT ขององค์กร จะมีค่าใช้จ่ายในเชิง Maintenance Service และ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แอบแฝง เช่น ค่าเช่า Space Datacenter, ค่าไฟ, แอร์ และ การทำ Datacenter สำรองข้อมูลนอกพื้นที่กรณีเกิดภาวะวิกฤต หรือที่เรียกว่า Disaster Recovery Site เป็นต้น
  
Google Apps นั้นเป็น Public Cloud Service ประเภท SaaS (Software as a Service) ที่ให้บริการด้าน Email Messaging & Collaboration หรือถ้าจะแปลเป็นไทยคือ ระบบอีเมล์และระบบการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ภายในองค์กรธุรกิจนั่นเอง โดยรูปแบบของการใช้งาน จะมีความคล้ายคลึงกับ Gmail.com ที่ให้บริการ Free email อยู่บน Internet แต่มีจุดที่แตกต่างมากมายคือ Google Apps ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจไว้ใช้งานภายใน สามารถมี email address
 
 เห็นดังนี้แล้วคงหมดข้อสงสัยว่าทำไม Cloud Technology จึงถูกหยิบยกให้เป็นสุดยอดเทคโนโลยียอดฮิตขององค์กรธุรกิจชั้นแนวหน้ามากมาย ที่วางใจเลือกใช้ Cloud Technology เป็นมือขวาที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรธุรกิจสามารถวิ่งแซงหน้าในสนามแข่งขันได้อย่างสบายๆ